ถ้าถามว่าธุรกิจใดจะเป็น Mega Trend ในอนาคต คำตอบแรกๆ คนมักนึกถึงธุรกิจสุขภาพตามธีม Aging Society หรือไม่ก็ ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่มาพร้อมกับ Smart Device และ Internet of Things (IoT)
แต่ถ้าในมุมมองของนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าก็จะบอกว่า หนึ่งในธุรกิจที่น่าสนใจคือ ธุรกิจประกันภัย ที่ไม่ว่าจะในอดีตหรือในอนาคต ก็ยังคงตอบโจทย์และเป็นที่ต้องการของคนทุกยุคสมัยนะครับ
เร็วๆ นี้ จะมีบริษัทโบรคเกอร์ประกันภัยที่เรารู้จักเป็นอย่างดีจะ IPO เข้ามาในตลาดหุ้นบ้านเรา บริษัทนี้ก็คือ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะใช้ชื่อย่อเทรดในตลาดว่า “TQM” นะครับ
พาไปทำความรู้จักกันหน่อยดีกว่า
ปัจจุบัน บริษัทฯ มีบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลัก ได้แก่
- บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด (TQM Insurance Broker) ดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย โดยปัจจุบันขายผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยทั้งสิ้นกว่า 130 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น
- กลุ่มประกันรถยนต์ (Motor) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ประกอบด้วย
- กลุ่มประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
- กลุ่มประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
- กลุ่มประกัน Non-Motor ประกอบด้วย การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance) การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (Marine Insurance) และประกันวินาศภัยเบ็ดเตล็ด เช่น ประกันภัยทรัพย์สิน (Property insurance) ประกันภัยความรับผิดทางกฎหมายต่อสาธารณะชน (Liability Insurance) ประกันภัยวินาศกรรม (Engineering Insurance) ประกันภัยความเสี่ยงภัยด้านการเงิน และการค้ำประกัน (Financial Insurance) : PA) ประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล ประกันภัยการเดินทาง หรือประกันภัยเบ็ดเตล็ดอื่นๆ (Miscellaneous) เป็นต้น
- บริษัท ทีคิวเอ็ม ไลฟ์ อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด (TQM Life Insurance Broker) ดำเนินธุรกิจเป็นนายหน้าประกันชีวิต ซึ่งขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตทั้งสิ้นกว่า 20 ผลิตภัณฑ์ โดยสามารถแบ่งผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตได้ 2 กลุ่ม คือ ประกันชีวิตประเภทรายบุคคล และประกันชีวิตประเภทกลุ่ม โดยใช้ฐานข้อมูลกลุ่มลูกค้าเป้าหมายซึ่งมีทั้งลูกค้าบุคคลธรรมดาและลูกค้าองค์กร โดยพนักงานขายจะติดต่อและเสนอขายประกันภัยประเภทต่างๆ ให้กับลูกค้าผ่านช่องทางการขายของกลุ่มบริษัทฯ หลากหลายช่องทาง เช่น โทรศัพท์ (Telemarketing) ออนไลน์ (Online) และการขายตรง (Face to Face) รวมทั้งการขายแบบผสมผสานระหว่างช่องทางการจำหน่ายทุกประเภท (Omni Channel)
นอกจากนี้ TQM ยังมีบริษัทย่อยอีก 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท แคสแมท จำกัด (Casmatt) ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์ และบริษัทร่วมอีก 1 บริษัท ได้แก่ TQLD เป็นผู้ให้บริการให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ผ่านเว็บไซต์
www.noon.in.th (รวมเรียกว่า “กลุ่มบริษัท TQM”)
กลุ่มบริษัท TQM ไม่เล็กนะครับ จากข้อมูลในเว็บไซต์ กลต. ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 กลุ่มบริษัทฯ มีพนักงานระดับผู้บริหาร พนักงานขาย และพนักงานระดับปฏิบัติการรวมจำนวนรวมประมาณ 3,600 คน มีทั้งประจำที่สำนักงานใหญ่ ที่สาขา และศูนย์ประสานงานทั่วประเทศ จำนวน 74 สาขา และ 21 ศูนย์ประสานงาน พร้อมบริการ call center ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยประสบการณ์ในธรุกิจประกันภัยกว่า 65 ปี มีการปรับปรุงรูปแบบการให้บริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าหลากหลาย ทำให้ได้ความน่าเชื่อถือตลอดจนการตอบรับที่ดีเสมอมา จนทำให้บริษัทมีการเติบโตอย่างมั่นคง มีผลการดำเนินงานน่าประทับใจ

หมายเหตุ :
/1 งบแสดงฐานะการเงินของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นข้อมูลในส่วนของวันที่ 1 มกราคม 2559 ซึ่งเป็นข้อมูล เปรียบเทียบของงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 ที่ตรวจสอบโดยบริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี
/2 ข้อมูลสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นข้อมูลจากงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมที่จัดทำโดยบริษัทฯ ซึ่งจะมีจำนวนไม่เท่ากับงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ที่แสดงในงบการเงินรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ที่ตรวจสอบโดย บริษัท สำนักงาน เอ็กซ์เพิร์ท ออดิท จำกัด เนื่องจากบริษัทฯ มีรายการปรับปรุงงบการเงินในปี 2558 – 2559 ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมปี 2560
/3 ปรับปรุงใหม่มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นของบริษัทฯ จาก 100.0 บาท เป็น 1.0 บาท โดยเป็นไปตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ซึ่งได้มีมติเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นของบริษัทฯ จาก 100.0 บาท เป็น 1.0 บาท
/4 คำนวณจากกำไรสุทธิสำหรับงวด
/5 ปรับตัวเลขของงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2561 เป็นตัวเลขเต็มปี (Annualized) เพื่อการเปรียบเทียบ
- ปี 2558
- รายได้รวม 2,184.0 ล้านบาท
- กำไรสุทธิ 140.4 ล้านบาท
- ปี 2559
- รายได้รวม 2,226.0 ล้านบาท
- กำไรสุทธิ 178.2 ล้านบาท
- ปี 2560
- รายได้รวม 2,281.7 ล้านบาท
- กำไรสุทธิ 268.3 ล้านบาท
- ถึง มิ.ย. 2561
- รายได้รวม 1,217.9 ล้านบาท
- กำไรสุทธิ 183.0 ล้านบาท
จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้ค่านายหน้าและค่าบริการอื่นจากการให้บริการของกลุ่มบริษัทฯ ประกอบกับการบริหารต้นทุนและทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กำไรสุทธิของกลุ่มบริษัทฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 140.4 ล้านบาท ในปี 2558 เป็น 178.2 ล้านบาท และ 268.3 ล้านบาท ในปี 2559 และ 2560 ตามลำดับ คิดเป็น CAGR 38.3%
อีกมุมหนึ่งที่นักลงทุนต้องรู้ด้วยคือ รายได้กว่า 88.9-94.4% ของกลุ่มบริษัทฯ เป็นรายได้จากการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ของบริษัทย่อย TQM Broker ซึ่งรายได้ในส่วนนี้ในปี 2558 – 2559 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 3.52% ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่สูงกว่าธุรกิจอื่นของกลุ่มบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
จริงๆ ช่องทางรายได้ที่เติบโตก็มาจากการใช้ Telemarketing ในช่วงก่อนหน้านี้ และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ เล็งเห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อยู่ในโลกออนไลน์กันมากขึ้น จึงขยายช่องทางการขายให้ลูกค้าสามารถรับคำแนะนำด้านประกันภัยได้สะดวกขึ้นด้วย และทิศทางของบริษัทฯ ที่มาทางออนไลน์ยังมีประโยชน์อีกด้านคือ สามารถควบคุมต้นทุนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และหมายถึงกำไรที่โตขึ้นอย่างชัดเจนอย่างที่เราเห็นกันครับ
จุดเด่นอีกอย่างของการเป็น Broker หรือเป็นบริษัทนายหน้าประกันภัย ข้อดีคือ ลูกค้าสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง และได้ภาพของความเป็นกลาง ดังนั้น ลูกค้าที่อยากได้ข้อมูลตรงไปตรงมา มีการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็ว ไม่ต้องหาข้อมูลทีละเจ้า ก็จะเลือกใช้นายหน้าเช่นนี้ แล้วแนวโน้มก็จะมาในทิศทางนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ประเด็นนี้ก็เป็นอีกประเด็นที่ผมมองว่า TQM มีจุดแข็ง

มาถึงตรงนี้ เราก็ไปดูกันหน่อยว่าโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เป็นอย่างไร

จะเห็นว่า กลุ่มของ ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ และนั่งเป็นประธานกรรมการบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนรวมกัน 67.9% ก็ต้องถือว่ามีสัดส่วนที่มีนัยยะสำคัญ และยังกุมอำนาจในบอร์ดบริหาร ในขณะที่การเสนอขาย IPO ครั้งนี้สัดส่วน 25% จะเสนอขายประชาชน 21.3% ที่เหลือจะให้กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยนะครับ
บริษัทฯ ระดมทุนครั้งนี้จะนำเงินไปทำอะไร?
โครงการลงทุนในอนาคตที่บริษัทฯ แจ้งกับ กลต. คือ จะนำไปพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาช่องทางการขายผ่านระบบออนไลน์ ด้วยการลงทุนในระบบ Chat Bot รวมถึงพัฒนากระบวนการทางธุรกิจ โดยลงทุนในระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) จะเห็นว่าผู้บริหารก็เกาะติด Mega Trend ด้านเทคโนโลยี และพยายามนำมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ สอดรับกับลูกค้ายุคออนไลน์ที่ใช้ Smartphone กันวันละไม่ต่ำกว่า 7-8 ชั่วโมงครับ
จริงๆ แล้ว Insure Tech หรือ Fin Tech ในสายธุรกิจประกันภัย ถือเป็นเทรนด์ที่ไม่ช้าก็เร็ว น่าจะมาเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจของทั้งอุตสาหกรรมอยู่แล้วนะครับ และการที่ TQM มีเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ชัดเจนว่าจะไปทางออนไลน์เช่นนี้ ทรัพยากรที่มีค่ามากๆ ในยุคนี้ที่ TQM จะได้ก็คือ “Data” หรือข้อมูลผู้ใช้งาน
เมื่อดูจากสิ่งที่ TQM มีในวันนี้คือ ลูกค้ามากกว่า 1 ล้านราย และช่องทางการขายที่เป็นผู้นำด้านออนไลน์ บวกกับนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้แบบไม่สังกัดค่าย ก็พอจะเดาได้ว่า “Data” ที่ TQM ได้มา จะทำให้อนาคตของบริษัทฯ ยังไปได้อีกไกลทีเดียว
ใครสนใจข้อมูลบริษัทฯ เพิ่มเติม คลิกลิงค์
www.tqmcorp.co.th